วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขนมโค

ขนมโคสีสวยๆ ปรุงแต่งด้วยสีจากธรรมชาติ สมุนไพรไทยๆ
อร่อยเนื้้อแป้งนุ่มๆ ขบเคีั้ยวกับน้ำตาลอ้อยหวานกรุบๆ  .... อร่อยถึงใจ

...เตรียมแป้งไม่หนาไม่บาง พอคำรสด้วยน้ำตาลอ้อย หวานอร่อย..
น้ำตาลอ้อย ไม่แข็งไม่ ไม่เหลวไป คลุกเค้ากับตัวแป้ง ไม่ละลาย อร่อยกรุบๆ
แต่งเติมสีสัน จากสมุนไพรไทย ธรรมชาติ ด้วยดอกอัญชัน

ขนมโคปักษ์ใต้  แป้งนุ่ม หวานอร่อยด้วยน้ำตาลอ้อย  คลุกเคล้าด้วยมะพร้าวขูดขาว เนียนนุ่ม

มะพร้าวขูดขาว ขูดใหม่ๆ สดๆ  แล้วนึ่ง เพื่อให้เก็บได้นาน ไม่ต้องใส่สารกันบูด


ขนมโค 
เชื่อว่าเป็นขนมในพิธีพราหมณ์ ซึ่งใช้ขนม ขาว ขนมแดง ในพิธีบวงสรวงต่าง ๆ เครื่องปรุง ประกอบด้วย ๑.แป้งข้าวเจ้า ๒.มะพร้าวขูดขนาด ทรามคลุก ๓.น้ำตาลแว่น 
วิธีทำ เอาแป้งเติมน้ำนวดให้เข้ากันจน เหนียวได้ตามที่ต้องการเอาน้ำตาลแว่นมาตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยม เพื่อทำเป็นใส้ขนมโค เตรียมมะพร้าวขูดผสมเกลือแต่งรสให้หวานของมะพร้าวเข้มพอสมควร เอาแป้งที่นวดแล้วมาปั้นเป็นลูกกลมๆ เอาน้ำตาลแว่นที่ตัดแล้วยัดใส่ เป็นไส้ ใส่ลงในน้ำเดือด เมื่อแป้งลอยขึ้นมาใช้ช้อนกรองให้สะเด็ดน้ำใส่ลงในถาดมะพร้าวขูดที่เตรียมไว้คลุกให้มะพร้าว ขูดติดที่แป้งทั้งลูก พร้อมตักบริการ 

ขนมจีน 
ขนมจีนถือเป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง นิยมกัน มากในหลายจังหวัดของภาคใต้ปัจจุบันมีแพร่หลาย ไปทั่วประเทศ วิธีการปรับปรุงรสชาติส่วนต่าง ออกไปในหลายถิ่น ตามความชอบแต่เมืองนคร ก็มีชื่อเสียงเหมือนต้นกำเนิดของขนมจีน โดย เฉพาะเมืองนครทำกระบอกบีบขนมจีนทองเหลือง ออกจำหน่ายไปทั่วประเทศช้านานแล้ว จึงไม่ต้อง สงสัยกับคำกล่าวที่ว่า "มาเมืองนครไม่ได้กิน ขนมจีนและข้าวยำ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองนคร" คนนครกินขนมจีนกันทุกหมู่บ้านทุกตำบลนิยมกิน ในตอนเช้า เป็นการรองท้องของหนัก กินเป็นมื้อ แทนกินข้าวได้ปัจจุบันมีขายกันตลอดวัน ในทุกที่ ของเมืองนคร 
การทำเส้นขนมจีน เริ่มด้วยการนำข้าวสาร มาแช่น้ำไว้อย่างน้อยคืนหนึ่ง แล้วนำมาโม่ หรือบด ด้วยครกบดหิน ใส่น้ำเพื่อให้บดได้สะดวก บดให้ ละเอียดแล้ว รินใส่ผ้าขาวบางกรองเอาน้ำออก เมื่อน้ำสะเด็ดก็ใช้ของหนักทับให้น้ำสะเด็ดจนแห้ง นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนเท่าลูกตะกร้อแล้วนำแป้ง ไปต้มหรือนึ่งจนแป้งอ่อนตัวแล้วนำมาเช่ หรือนวด ให้เนื้อนิ่มเข้ากันดี นำมาใส่ในกระบอกบีบออกมา เป็นเส้นจากรูก้นกระบอก ตั้งกระทะต้มน้ำให้เดือดบีบให้เส้นขนมจีนโรยลงในกระทะดูเส้นสุก ดีแล้ว ใช้ตะกร้าตะแกรงตักเส้นขึ้นมาแช่ในน้ำเย็น 
แล้วรีบจับขึ้นมาทีละประมาณ ๑๐ เส้น เรียกว่า ๑ จับ วางเรียงลงในกะบะที่ปูด้วยใบตอง หรือไม้ไผ่ไม่มีน้ำขังเฉอะแฉะเป็นอันเสร็จสิ้นการ เตรียมเส้นขนมจีน ส่วนน้ำแกงที่คนนครนิยมทานมีน้ำ"แกงเผ็ด" มีรสเผ็ดจัด ไม่ใส่กะทิ "น้ำแกง" ภาคอื่นเรียกน้ำยา อันนี้ จะมีความเผ็ดน้อยลงหน่อย และใส่กะทิ "น้ำพริก" เครื่องแกงชนิดนี้จะเผ็ดน้อยมาก นิยมใช้ พริกแห้ง ดอกใหญ่ แทนพริกขี้หนู ออกรสหวาน เปรี้ยวนิดๆ ใส่ถั่วสิสงตำพอแตกลงไปด้วย เหมาะ สำหรับเด็ก และผู้ไม่ชอบรสเผ็ดแต่ก็นิยมไปผสม กับน้ำแกง เผ็ดและน้ำแกงเพื่อลดเผ็ดลงด้วย "แกงเขียว หวาน" เหมือนแกงเขียวหวานทั่วไปแต่ ใส่น้ำมากขึ้นอีก เพื่อราดลงบนขนมจีน นิยมเนื้อ ไก่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ งานออกปาก งานเลี้ยงเพื่อนฝูง คนนครจะนิยมเลี้ยงขนมจีน แกงเขียวหวานไก่จะ ขึ้นหน้าขึ้นตา เพราะกินเป็นเนื้อเป็นหนังหน่อย ส่วนผักเหนาะ (ผักเคียง) ของคนนครต้องอยู่คู่ ขนมจีนขาดจากกันไม่ได้เลย ใครนิยมกินขนมจีน กับน้ำแกงโดยไม่มีผักเหนาะ เจ้างานต้องเสาะหา มาจนได้ ผักสดของนครมีมากมาย จะเน้นยอด ใบไม้ เช่น ยอดสะตอเบา ยอดยาร่วง ผักกาด นกเขา ยอดมันปู ยอดหว้า ยอดจิก ยอดแมงลัก 
กะเพรา ผักชีล้อม ยอดหมุย ยอดกอก ลูกฉิ่ง ถั่วพู หน่อเหรียง ลูกเนียง ลูกสะตอ อีกมากมายนับร้อย ชนิดที่มีอยู่ทั่วถิ่น มีผักลวกกะทิ ผักดองอีกหลาก หลายบอกกันไม่หมด ซึ่งเป็นจุดเด่นที่สุดของขนม จีนเมืองนคร 
ขนมจู้จุน 
ขนมจู้จุนเป็นของพื้นถิ่นเมืองนคร ยังมีคน ทอดอยู่บ้างในชุมชนเล็กๆ ด้วยเหตุที่เป็นขนมที่ ต้องกินกันสดๆ ร้อนๆ ถึงจะอร่อย ไม่สามารถเก็บ เอาไว้ได้นาน จึงมีคนนิยมกินกันน้อย หรือปริมาณ ขายทำได้น้อย เพราะต้องซื้อแล้วต้องกินให้หมด ทันที ไม่เหมาะที่จะซื้อไปฝาก ไปเก็บไว้ได้เลย 
ขนมจู้จุนทำได้โดยเอาข้าวสารเจ้ามาล้างให้ สะอาดแช่น้ำจนเมล็ดพองได้ที่นำไปโม่ให้ละเอียด ใส่ถุงผ้าทับไว้ให้สะเด็ดน้ำ เคี่ยวน้ำตาลให้ละลาย เป็นน้ำเชื่อมวางไว้จนอุ่นพอเอามือจุ่มลงไปได้พอ ทนร้อนได้ เอาแป้งใส่ลงไปนวดทีละน้อยในน้ำ เชื่อมใส่ไปเรื่อยๆ นวดไปเรื่อยๆ จนแป้งหมดกะ ความเหนียวพอใช้ช้อนขนาดใหญ่ ตักหยอดได้ ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืช ซึ่งใช้ทอดขนมจู้จุนทีละ แผ่นเท่านั้น เมื่อน้ำมันร้อนได้ที่ ก็ตักแป้งหยอดลง ไปในน้ำมัน ขนมจะแผ่ตัวเป็นแผ่นกลม ไม่ต้อง พลิกขนม ใช้ไม้แหลมๆ หมุนขนมไปเรื่อยๆ ตรง กลางขนมจะนูนขึ้นรอบๆข้างจะมีสีเข้มเริ่มสุกก่อน เมื่อสุกแล้วตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน แต่ขนมจู้ จุนจะอมน้ำมัน ผิวล่างและริมขอบจะกรอบตรง กลางจะนุ่มรสชาติหวานมัน 
ขนมดู 
ดูเป็นขนมพื้นถิ่นนิยมกันในเมืองนคร และ แถบลุ่มแม่น้ำ และชนบทที่มีต้นโหนดเป็นขนมอีก ชนิดหนึ่งที่มีรสชาติอร่อยเก็บไว้ได้นานถึงสิบกว่าวัน 
วิธีทำนำข้าวสารเจ้ามาล้างน้ำให้สะอาดแล้ว แช่น้ำจนเมล็ดพองได้ที่ เทใส่ภาชนะที่สะเด็ดน้ำ จึงนำมาคั่วให้สุกและกรอบ นำไปโม่จนละเอียด ใส่ถุงหาของหนักทับจนแห้ง แบ่งแป้งออกเป็น ส่วนหนึ่งเรียกว่า "แป้งเชื้อ" เอาน้ำตาลโตนดชนิด เหลวใส่กระทะตั้งไฟเคี่ยวจนน้ำตาลข้นได้ที่ใส่ แป้งที่โม่แล้วลงในกะทะ น้ำตาล มะพร้าวแก่ขูด ใส่ลงไป ใส่เกลือเล็กน้อย คนจนขนมแห้งกะว่า พอปั้นเป็นก้อนได้ ยกลงจากกะทะ วางพักไว้ให้ เย็นจึงนำมาปั้นเป็นก้อน กะว่าก้อนขนาดมะนาว ผลเล็ก ขณะที่ปั้นขนมจะติดมือ เมื่อปั้นเป็นก้อน กลมได้ที่แล้วคลุกด้วยแป้ง เชื้อบาง ๆ เพื่อป้องกัน ไม่ให้ขนมติดกัน เก็บไว้ในภาชนะได้ประมาณสิบ วันรสชาติหอมหวานมัน